วัดมหรรณพาราม วรวิหาร เสาชิงช้า กรุงเทพ

วัดมหรรณพาราม

วัดมหรรณพาราม วรวิหาร หนึ่งในพระอารามหลวงที่สงบ ร่มเย็น ย่านเสาชิงช้า กรุงเทพฯ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้วยเป็นวัดที่มีโรงเรียนประถมศึกษาแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ตั้งโรงเรียนขึ้นในปี พ.ศ. 2427 ภายในบริเวณวัดมหรรณพารามวรวิหาร ถนนตะนาว แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เพื่อเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาแบบสหศึกษา และยังคงเปิดสอนมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากเป็นแหล่งความรู้แล้ว ภายในวัดสวย กรุงเทพแห่งนี้ ยังมีจุดมูที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ถึง 2 จุดด้วยกัน !

วัดมหรรณพาราม

ประวัติ วัดมหรรณพาราม

วัดมหรรณพารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของถนนตะนาว แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ปีพ.ศ.2393 โดยกรมหมื่นอุดมรัตนราษี(พระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าอรรณพ) พระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4

วัดมหรรณพาราม
วัดมหรรณพาราม
พระวิหาร

โดยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดมหรรณพาราม ตามพระนามของผู้สร้างวัด อันมีความหมายว่า ห้วงมหานทีที่กว้างใหญ่ ตัวของวัดนั้นจะสร้างสถาปัตยกรรมทั้งแบบไทยและแบบจีน ที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีน หลังคาของพระอุโบสถไม่มีช่อฟ้า ใบระกา ส่วนของพระประธานจะปั้นด้วยปูนลงรักปิดทองอย่างสวยงาม เป็นพระพุทธรูปสมัยของกรุงศรีอยุธยา ส่วนพระวิหารมีขนาดเท่ากับพระอุโบสถ รวมทั้งมีศิลปะแบบเดียวกัน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อสมัยสุโขทัย พระนามว่า หลวงพ่อพระร่วง

พระวิหาร
พระวิหาร

จุดมูไฮไลท์วัดมหรรณพาราม

หลวงพ่อพระร่วงทองคำ

หลวงพ่อพระร่วงทองคำ อายุกว่า 700 ปี

หลวงพ่อพระร่วงทองคำ พระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดโคกสิงคาราม อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สร้างในรัชสมัยใดไม่ปรากฎแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หลวงพ่อพระร่วงทองคำ สร้างด้วยโลหะผสมทองคำ 60% หน้าตักกว้าง 1 วา 1 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูง 1 วา 3 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว มีรอยต่อ 9 แห่ง โดยมีหมุดเป็นเครื่องเชื่อมที่รอยต่ออันมีนัยยะหมายถึงความเจริญก้าวหน้า

เมื่อกรมหมื่นอุดมรัตนราษี (พระองค์เจ้าอรรณพ) ทรงสร้างวัดอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้พระราชทานเงินสมทบ 1,000 ชั่ง เมื่อสร้างพระอุโบสถขึ้นแล้ว ทรงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ทางเมืองเหนือเสาะหาพระพุทธรูปใหญ่ เพื่อจะทรงนำมาเป็นพระประธาน

ครั้นได้พบแล้วก็ทรงรับสั่งให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ เพื่อให้ได้ทันวันฉลองพระอุโบสถและผูกพัทธสีมา แต่การเดินทางในสมัยนั้นลำบากมาก ต้องอาศัยเรือหรือแพเท่านั้นเป็นพาหนะ หลวงพ่อพระร่วงทองคำนี้ก็เช่นเดียวกันต้องอาศัยบรรทุกมาทางแพด้วย แต่การเดินทางล่าช้ามาก มาไม่ทันกำหนดเวลาที่พระอุโบสถสร้างเสร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับสั่งให้สร้างพระประธานด้วยหินปูนก่ออิฐลงรักปิดทองให้ทันกับเวลาฉลองพระอุโบสถและใช้เป็นพระประธานในพระอุโบสถตราบจนทุกวันนี้

ครั้นสร้างพระประธานเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อพระร่วงทองคำ ได้อัญเชิญมาถึงกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับสั่งให้สร้างพระวิหารขึ้นทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถให้เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระร่วงทองคำ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หลวงพ่อพระร่วงทองคำ

พระคาถาบูชาหลวงพ่อพระร่วงทองคำ

(ตั้งนะโม 3 จบ)

อิทธิ ฤทธิ พุทธนิมิตตัง
ขอเดชะเดชัง ขอเดช เดชะ
จงมาเป็นที่พึ่งแห่งข้าพเจ้า มะ อะ อุ ด้วยเถิด
อุ มะ อะ เม ขอสิ่ง ฎี ฎี จงบังเกิดมีขึ้น

หลวงพ่อพระร่วงทองคำองค์นี้ เป็นพระที่ชาวบ้านเชื่อกันว่า ท่านวาจาศักดิ์สิทธิ์ เพราะว่าชื่อของท่านไปพ้องกับตำนานพงศาวดาร เรื่อง “พระร่วงวาจาศักดิ์สิทธิ์” ตามเรื่องเล่าที่ว่า ระหว่างที่พระร่วงบวชจำพรรษาที่วัดมหาธาตุ ขอมดำดินจากกรุงกัมพุชได้มาโผล่ที่ลานตรงท่านกวาดอยู่พอดี ท่านเลยบอกว่าอยู่ตรงนี้แหละอย่าได้ไปไหน เท่านั้นเอง ร่างของขอมดำดินก็แข็งเป็นหินครึ่งท่อนอยู่ตรงนั้น จึงเป็นที่มาของคตินิยมความเชื่อ เรื่องวาจาศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อพระร่วงทองคำ ที่พูดคำไหนเป็นคำนั้น ถ้าขออะไรก็จะได้ตามที่ขอ นิยมมากราบไหว้บูชา และบนบานด้วยตะกร้อและว่าว ด้วยความเชื่อนี้ไปพ้องกับตำนานที่ว่าพระร่วงชอบเล่นตะกร้อและเล่นว่าวนั่นเอง

ตะกร้อ

ตะกร้อและว่าวของไหว้บูชา หลวงพ่อพระร่วงทองคำ

หลวงพ่อบุญฤทธิ์

หลวงพ่อบุญฤทธิ์ วัดมหรรณพาราม

หลวงพ่อบุญฤทธิ์ พระประธานในพระอุโบสถ วัดมหรรณพาราม เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปะอยุธยา ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 7 นิ้ว สูง 5 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว ประดิษฐานบนพุทธบัลลังก์ โดยในขณะที่กำลังสร้างวัดมหรรณพารามนั้น รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้กรมการเมืองเหนือ เสาะหาพระพุทธรูปงามๆ มาเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และได้พบหลวงพ่อร่วง ที่วัดโคกสิงคาราม จ.สุโขทัย แต่เมื่อพระอุโบสถสร้างเสร็จ ปรากฏว่า หลวงพ่อร่วงยังอัญเชิญมาไม่ถึง จึงมีการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขึ้นเพื่อเป็นพระประธานในพระอุโบสถในพิธีสมโภชและผูกพัทธสีมาของวัด ซึ่งก็คือ หลวงพ่อบุญฤทธิ์ องค์นี้นี่เอง เมื่ออัญเชิญหลวงพ่อพระร่วงมาถึง จึงได้สร้างพระวิหารเพื่อประดิษฐานแทน

ปางมารวิชัย

หลวงพ่อบุญฤทธิ์ พระประธานในอุโบสถ

อุโบสถ
อุโบสถ

อุโบสถ

อุโบสถ
วัดสวย กรุงเทพ
อุโบสถ

ความวิจิตรของสถาปัตยกรรมวัดไทย

ประตู

บานประตู อุโบสถ

กราบพระ
พระเกจิ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2527 ในโอกาสครบ 100 ปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานการศึกษา ให้วัดมหรรณพารามเป็นโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรกของไทย

วัดสวย กรุงเทพ
เจ้าแม่กวนอิม

เจ้าแม่กวนอิม

ปัจจุบันพระวิหารกำลังบูรณะซ่อมแซม แต่สามารถเข้าไปกราบสักการะหลวงพ่อพระร่วงทองคำ ทำสังฆทาน ภายในพระวิหาร ได้ทุกวัน ตั้งแต่ 08.00 น. – 17.00 น. ส่วนพระอุโบสถจะปิด ยกเว้นช่วงเวลาทำวัตรเย็น และวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้นค่ะ

ภาพโดย MTHAI TEAM

ที่อยู่ : 261/4 ถนนตะนาว แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ
Google map : https://goo.gl/maps/fZzC1E9jceKC2P2x9
เวลาทำการ : 06.00-17.00 น.

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทริกขอพรความรัก วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวง ร. ๓
ขอพรการเงิน วัดราชโอรส วัดประจำรัชกาลที่ ๓ วัดสวยย่านฝั่งธน
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร วัดสุดท้ายในพระราชศรัทธาล้นเกล้าร.๓

คำทำนายดวงชะตาปี 68 วางจำหน่ายแล้ววันนี้
ช่องทางการสั่งซื้อที่แอปพลิเคชัน MTHAI
มือถือแอนดรอยด์ : https://play.google.com/store/apps/details
มือถือ iOS ไอโฟน : https://apps.apple.com/gr/app/mthai-com/id471243201

ดวงปี 2568

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *